โดนจับลิขสิทธิ ควรทำอย่างไรไปดูกันเลย
การไถเงินตลาดนัด อันนี้เลวสุดๆเล่นงานคนจน วิธีการมีดังนี้
1 โจรจะเดินดูและจดรายการของที่มีลิขสิทธิ์ที่มีในตลาดนัด เช่นนาฬิกา เสื้อผ้า ตุ๊กตา กระเป๋า ผ้าเช็ดหน้าปลอกหมอนผ้าเช็ดตัวที่มีลายอุลตร้าแมน โดราเอม่อน (รวมถึงเครื่องสำอางนะคะ)
2 เมื่อได้รายการจะไปขอเป็นตัวแทนจากบริษัทที่เป็นเจ้าของจริง แล้วก็เข้าจับ
3 ส่วนใหญ่ 99% จะของปลอม เข้าจับแบบข่มขู่ เรียกเงิน 50000 บาท ต่อรอง 10000 มันก็รีบเอาแล้วเผ่นหนี (เหมือนที่ร้านเราเคยโดนคะ)
******** วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- โวยวายด่าแหลกแบบแม่ค้า โมโหเก็บของกลับบ้านไม่ต้องสนใจใคร
- 99% ของปลอม เล่นบทโหดใส่ รีบกลับบ้าน ไม่มีใครทำอะไรคุณได้ครับ ย้ำว่าลิขสิทธิ์ของแท้ ไม่มาจับแม้ค้าแบบนี้หรอกครับ
- หากมีลิขสิทธิ์ของจริง หากหน้าด้านมาจับ คุณก็ยอมเค้าไป เพราะคุณผิดจริง ยอมโดนจับแล้วขึ้นศาลนะครับ อย่าจ่ายเองเด็ดขาดให้ศาลสั่งเท่านั้น คุณจะโดนปรับจริงๆไม่เกิน 2000 บาท
- ศาลจะให้จ่ายตามความเสียหายจริงครับ เช่น ปลอกหมอน 150 บาท10ผืน ของคุณทำความเสียหาย 1500 บาท ศาลก็จะสั่งปรับแค่นั้น ไม่มีในโลกครับที่ปรับ 50000 บาท
ทั้งหมดนี้ที่เรียกว่าของปลอมถึงแม้บางคนจะเป็นตัวแทนจริงๆ ก็เพราะ วิธีการเข้าจับของพวกมัน ผิดกฎหมายครับ
ธุรกิจนี้ผลตอบแทนมหาศาลครับ เพราะเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย ปราบยากครับ
อันนี้คือลิ๊งค์ รายชื่อตัวแทนผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของแท้ครับ http://www.ipthailand.org/dip/index.php?
ปล.ผมไม่ได้มาสอนให้คนโกงนะครับ หากเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จริง จับตามขั้นตอนกฎหมายจริง เรียกเงินตามจริง --ผมสนับสนุนครับ
แต่การเรียกเงินตามศาลสั่งนั้น ของแท้จะรู้ว่าถ้าจับแบบรังแกชาวบ้านจะได้เงินน้อยอาจจะแค่ 2000บาท ดังนั้นของแท้จะจับโรงงานปั้มแผ่น หรือโรงงานผลิตครับ
ของแท้ สังเกตุง่ายๆครับ ส่วนใหญ่จะมี2แบบ จะไปกับตำรวจกอบปราบครับ และจะไปกับตำรวจเศรษฐกิจ ครับ
ข้อย่อยที่ช่วยได้เบื้องต้น ยาวแต่ต้องอ่านนะครับ มันสำคัญทุกข้อครับ
1 จับกุมลิขสิทธิ์ได้ก่อนพระอาทิตย์ตกดินเท่านั้น ถ้ามาตอนมืด ถึงจะถูกต้องก็ไล่กลับไปได้เลย
2.หากมีคนอ้างเป็นตัวแทน ขอดูบัตรประชาชน ดูใบรับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ดูบัตรของผู้รับมอ
บจะต้องมีบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าไม่ให้ดูไล่พวกมันกลับไปได้เลย
3 การล่อเล่นของหน้าม้า เป็นการร่วมกระทำความผิด ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์
4 ร้านคอมฯปฏิเสธไม่ให้ตรวจเครื่องคอมฯได้นะครับถ้ามันไม่มีหมายค้น ในส่วนของตัวร้าน(สาธารณสถาน)
อยากตรวจก็ให้ตรวจไปแต่เครื่องคอมฯไม่ใช่สาธารณสถานเรามีสิทธิปฏิเสธไม่เปิดให้ตรวจสอบได้
5 ตัวแทนลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิ์อธิบายขั้นตอนการจับกุม กฎหมายเขียนชัดเจนให้เป็นหน้าที่ของตำรวจชุดจับกุมให้เป็นผู้จัดทำบันทึก การจับกุม
ไม่มีกฎหมายให้อำนาจราษฎรทำ เป็นข้อต่อสู้ของจำเลยข้อหนึ่งได้ว่ามันมั่วนิ่มไม่รู้กฎหมายแล้วมาจับ
6 ราษฎรก็จะช่วยตำรวจจับไม่ได้แม้ตำรวจจะขอให้ช่วยจับ เพราะ ตำรวจจะขอให้ราษฎรช่วยจับได้ต้องเป็นผู้จัดการตามหมายจับเท่านั้น
(เช่น โจรที่มีหมายจับ) แต่การจับละเมิดลิขสิทธิ์ในความผิดซึ่งหน้าไม่ใช่การจัดการตามหมายจับ เราจึงมีสิทธิป้องกันการจับกุมอันมิชอบด้วยกฎหมายทั้งปว
งกับราษฎรที่มาช่วยจับได้ตามสมควร(ต่อสู้ป้องกันตามสมควร อย่าให้ถึงตายนะครับ แบบนั้นติดคุกฐานฆ่าคนตาย ควรใช้กระบองป้องกันตัว)
ไม่มีความผิดทางอาญาใดๆ
7 การล่อเล่น ไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ ราษฎรก็ล่อเล่นได้ (แต่การล่อเล่นในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็นการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ศาลจะยกฟ้อง) เหมือนข้อ3
8 จะเป็นความผิดซึ่งหน้า ต้องดูที่ลักษณะของการกระทำ ไม่ใช่ดูที่ตัวผู้ล่อเล่นว่าเป็นตำรวจหรือไม่เป็นตำรวจ
ความผิดซึ่งหน้า หมายถึง ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใด ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ
(ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 80)
9 ดูที่ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญามาตรา 79 ราษฎรก็สามารถจับความผิดซึ่งหน้าได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ
แต่ต้องเป็นความผิดบางประเภทเท่านั้น (คือความผิดที่บัญญัติไว้ท้ายประมวลป.วิอาญา) เช่น ฐานฆ่าคนตาย เป็นต้น
แต่ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่ความผิดท้ายประมวลฯ ราษฎรจึงจับไม่ได้แม้เห็นความผิดเกิดขึ้นซึ่งหน้า
10 การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเกิดซึ่งหน้าตำรวจเท่านั้นเช่นนั่งไลท์แผ่นต่อหน้าต่อตาตำรวจ ตำรวจจึงจะมีอำนาจจับกุม
(และต้องมีการแจ้งความแล้ว ถ้ายังไม่แจ้งความก็ไม่มีสิทธิ์จับในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์) ถ้าการละเมิดเกิดต่อหน้าตัวแทนบริษัท(หน้าม้า)
แม้จะถ่ายรูปไว้ ถ้าขณะนั้นตำรวจไม่ได้เห็นด้วย(ตำรวจอยู่นอกร้าน-มาทีหลัง) ก็ไม่มีอำนาจจับกุมครับ
11 การค้นในที่รโหฐาน เช่น ส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีหมายค้น ถ้าเข้าไปยึดแผ่นเโดยไม่มีหมาย ก็เป็นการค้นที่ไม่ชอบ
ทรัพย์สินที่ยึดไปไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะฉะนั้น ถ้าขึ้นศาลก็จะไม่
มีพยานหลักฐานนำสืบแสดงว่าเราทำผิด (แม้เราละเมิดจริง แต่เมื่อไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเราทำผิด เพราะหลักฐานที่ยึด
ได้มาจากการค้นที่ไม่ชอบ) ศาลจะยกฟ้อง
12 หลัก ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลไม่ได้(ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา78) ข้อยกเว้น
จะจับโดยไม่มีหมายจับก็ได้ เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า และเหตุอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
(ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 80) คดีละเมิดลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิ์จับ
แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เช่นคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องมีการแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายหรือตัวแทนเสียก่อน
ตำรวจจึงจะมีอำนาจจับ ดังนั้น ถ้ายังไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ อำนาจจับกุมก็ยังไม่เกิด
แม้จะมีการละมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นต่อหน้าตำรวจ ตำรวจก็จับไม่ได้
-
ปล. จุดไหนผิดพลาดโปรดชี้แนะด้วยครับ
ล่อซื้อ
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 66 บัญญัติว่า ความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้
ผลทางกฎหมายคือ เจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ถึงการละเมิด
มิฉะนั้นจะขาดอายุความร้องทุกข์ และการแจ้งความร้องทุกข์จะต้องกระทำโดยผู้เสียหาย หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย
โดยผู้เสียหายจะต้องเป็น "ผู้เสียหายโดยนิตินัย"แต่หากผู้เสียหายเป็นผู้มีส่วนร่วม หรือก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น
ก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543 การที่จำเลยกระทำความผิดโดยทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์
ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ส. ตามที่ส.ได้ ล่อซื้อ นั้น เกิดขึ้น
เนื่องจากการล่อซื้อของส. ซึ่งได้รับการจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เพราะฉะนั้น การล่อซื้อและการส่งหน้าม้ามาลงเพลงในคอมพิวเตอร์/การล่อเล่นในกรณีเกมส์ เพลย์ จึงเป็นกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกานี้ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อมีการถูกจับลิขสิทธิ์ต้องทำอย่างไรบ้าง
ถ้าพวก(แอบอ้าง)จับลิขสิทธิ์ มาค้นหรือมาจับหรืออะไรก็ตาม ให้ดำเนินการตามนี้
๑ ดูว่ามีการร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้วหรือยัง แล้วใครร้องทุกข์ เพราะคนที่ร้องทุกข์ต้องเป็นไปตามใบมอบอำนาจเท่านั้น เพราะคดีนี้ยอมความได้ จะกล่าวโทษไม่ได้ ต้องร้องทุกข์เท่านั้น
๒ ถ้ามีการร้องทุกข์แล้ว จะมาค้น ก็ต้องมีหมายค้นที่ออกโดยศาล
๓ มากับ ตร หรือไม่ ถ้าไม่มากับ ตร. แม้ว่าจะมีหมายค้น ก็อย่าให้ค้น เพราะคนทั่วไป ไม่มีอำนาจค้น
๔ ผมบอกให้ดูการมอบอำนาจด้วยว่าเป็นเอกสาร จริงหรือปลอม และ มีการมอบอำนาจให้ใครดำเนินการ เช่น บริษัท ก. มอบให้ นายแดงดำเนินการ การเข้าตรวจค้นตามหมายของศาลก็ต้องมีนายแดงดำเนินการด้วย เพราะคนอื่นที่ไม่ใช่นายแดง จะไม่มีอำนาจเลย (หมายถึงมากับ ตร.)
แต่ถ้าเป็นการดำเนินการของ ตร. ก็สามารถทำได้ (ตร.ทำการตรวจค้นเอง)
๕ ถ้าไม่แน่ใจว่าเอกสารที่มอบอำนาจจริงหรือไม่ ให้ดูด้วยว่า ติดอากรแสตมป์หรือไม่ ถ้าติดด้วยก็อาจจะจริง(อาจจะ) ควรอ่านใบมอบอำนาจให้จบ ถ้าข้อความไม่ชัดเจนควรถามว่าอำนาจนี้มันคืออะไร
๖ ถ้าไม่มี ตร. ไม่มีหมายค้น ไม่มีการร้องทุกข์ ก็ไม่ต้องสนใจเลย แม้ว่ามันจะมีหนังสือมอบอำนาจจริงก็ตาม เพราะมันไม่มีอำนาจตามกฎหมาย เพราะไม่ใช่ เจ้าพนักงานที่มีอำนาจ และอย่าไปยอม ให้ถ่ายรูปพวกมันไว้ เพราะคนทั่วไป จับ ค้น ทำไม่ได้เลย
๗ สำหรับ ตร. อย่าไปเกรงใจ ให้ขอดูบัตรเจ้าพนักงานด้วย และจดชื่อ จดหน่วยงานไว้ด้วย ถ้าไม่ให้ดู ก็อย่าให้ค้น
ถ้าทุกอย่างมีถูกต้องตามกฎหมาย คราวนี้มาดูว่า
อะไรที่มันผิดกฎหมายสำหรับสิ่งนั้น มันสามารถดำเนินการได้เฉพาะสิ่งนั้น เช่น
มันได้รับมอบอำนาจจับ สิ่งของที่เป็นโดเรม่อน ก็จะจับได้แค่โดเรม่อนเท่านั้น
มันจะมาเหมารวม คิดตี้ หรือ อื่นๆไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ผู้ได้รับมอบอำนาจส่วนนั้น
ถ่ายรูปสินค้าและจดบันทึกไว้ด้วยว่า มันเอาอะไรไปแค่ไหน
ผมเคยบอกว่า ถ้าเป็นพวก MP3 ก็ให้ถอด HDD ไป โดยอย่าให้ยกเครื่องคอม และ จอคอมไป แม้ว่ามันจะอ้างว่า สิ่งของพวกนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดก็ตาม
ตรงนี้หลายคนอาจไม่เห็นด้วย ผมแนะนำเพื่อนบอกว่า ที่ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด เพราะตอนที่มันมาค้น เราไม่ได้ใช้งาน
ดังนั้นมันจึงไม่ใช่การกระทำผิดซึ่งหน้าในขณะนั้น ต่อหน้า ตร.ที่มีอำนาจตามกฎหมาย
จริงอยู่ก่อนหน้านั้นเราใช้คอมฯ และ MP3 อยู่ในคอม แต่เราไม่ได้ใช้งานในขณะนั้น
ถ้ามันจะเอา MP3 ไปเป็นหลักฐาน ก็ให้แกะ HDD ไปเลย โดยอย่ายอมให้ยกคอมไป..
ลองเอาไปดัดแปลงใช้กับสถานการณ์อื่นดูนะครับ
ผมไม่ได้แนะนำให้หัวหมอ เพียงแต่แนะนำให้ตรวจสอบให้ได้ความจริงก่อนว่า
คนที่มาจับ มาค้น มีอะไรถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าคุณทำผิดจริง แน่นอน ไม่มีใครช่วยได้
แต่แม้จึงจะทำผิดจริงก็ตาม การถูกดำเนินคดี ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
ไม่ใช่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งพวกนี้ เพราะคุณก็ตกใจ และก็กลัว จนลืมขั้นตอน และสิทธิของคุณ
วิธีตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่
1. ต้องมีหมายศาล (หมายค้นนะครับ ไม่ใช่บันทึกประจำวัน) http://ict.in.th/26
ตรวจดูความถูกต้องของหมายค้นให้ละเอียด
(1) วัน เดือน ปี ที่ศาลอนุญาตให้เข้าตรวจ ในหมายค้นระบุวันที่เท่าไหร่ ต้องมาวันนั้น มาผิดวันใช้ไม่ได้
(2) บ้านเลขที่ ชื่อร้านต้องตรง ถ้าพิมพ์ชื่อร้านผิด หรือบ้านเลขที่ผิด เราปฎิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที ในกรณีที่ร้านไม่มีบ้านเลขที่ หรือไม่มีชื่อร้าน ในหมายค้นจะต้องระบุอย่างละเอียดว่า เป็นบ้านไม่มีเลขที่ด้านซ้ายอยู่ติดกับร้านอะไร ด้านขวาอยู่ติดกับอะไร มีอะไรเป็นข้อสังเกต หรือชี้ชัดว่าเป็นร้านนี้
(3) ช่วงเวลาที่ศาลอนุญาตให้เข้าตรวจค้น กี่โมง ถึงกี่โมงถึง มีหมายค้นมา แต่ถ้าเลยเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ก็เข้าตรวจค้นไม่ได้
(4) สิ่งของที่ศาลอนุญาตให้ตรวจค้น เช่นตัวแทนลิขสิทธิ์อ้างว่ามาตรวจลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก ในหมายศาลก็ต้องระบุว่า "เพื่อตรวจค้นสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2010" ก็คือ โทรทัศน์, จอ, เครื่องฉายต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาพ ระวังการลักไก่ หากหมายศาลระบุให้ตรวจค้นเรื่องอื่น จะนำมาอ้างตรวจลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกไม่ได้
(5) หมายค้นจะต้องเป็นฉบับจริงเท่านั้น ถ่ายเอกสารไม่ได้
2. ตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีหมายค้นมาแล้วต้องมาพร้อมกับตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่มีชื่ออยู่ในหมายค้นด้วย
(1) ตำรวจชั้นสัญญาบัตร คือผู้ที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรี ถึงพลตำรวจเอก วิธีดูง่ายๆ ว่าใช่ตำรวจชั้นสัญญาบัตรหรือไม่ คือต้องมีดาวบนบ่าอย่างน้อย 1 ดวง
(2) ตรวจสอบบัตรประจำตัวตำรวจว่า ชื่อ-นามสกุล ตรงกับในหมายค้นหรือไม่ บัตรหมดอายุหรือยัง ถ้าหมดอายุแล้ว เราปฎิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที
ขอขอบคุณ user อาจารย์แมว จากเวป www.pantip.com และ www.pantip.com ด้วยนะคะ
ข้อกฎหมาย ที่ต้องรู้